สรุปประเด็นการเสวนาผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔

สรุปประเด็นการเสวนาผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔

เรื่อง การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร

วันที่ ๑๗ พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๖๕

 

๑. แนวทางการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร

        ๑.๑ หลักสูตรแยกเปิดสอนตามส่วนงาน ๒๘๙ หลักสูตร

          – ส่วนงานจัดการศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินฯ

          – กรอกข้อมูลใน ระบบ MCU E-SAR และ CHE QA Online

          – ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร Online หรือ Onsite ใน ระบบ MCU E-SAR

          – ตรวจประเมิน ในวันที่ ๑ – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๕

        ๑.๒ หลักสูตรรวม ๑๐ หลักสูตร

          – คณะต้นสังกัดหลักสูตรรวมแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมิน

          – กรอกข้อมูลในระบบ CHE QA Online

          – ตรวจประเมินฯ Online หรือ Onsite ในระบบ CHE QA Online   

– ตรวจประเมิน ในวันที่ ๑ – ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๕

 

๒. แนวทางตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ วิทยาเขต และวิทยาลัย

          – มหาวิทยาลัยคัดเลือกและแต่งตั้งประธานและกรรมการ

          – คณะ วิทยาเขตและวิทยาลัย กรอกข้อมูลในระบบ MCU E-SAR และ ระบบ CHE QA Online

          – คณะกรรมการตรวจประเมิน ใน ระบบ CHE QA Online

          – ตรวจประเมินฯ Online ๓๔ ส่วนงาน

          – ตรวจประเมิน Onsite ๖ แห่ง คือ วส.บุรีรัมย์ วส.ร้อยเอ็ด วส.อุทัยธานี วส.พิจิตร วส.กาญจนบุรีศรีไพบูลย์ และ วส.ชลบุรี

          ตรวจประเมิน ในวันที่ ๑ กรกฎาคม – ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕

 

๓. องค์ประกอบที่ ๑ การกำกับมาตรฐานหลักสูตร

        ๓.๑ เอกสารและหลักฐานประกอบการพิจารณาคุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

– คำสั่งจ้างอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร

          – สัญญาจ้างอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร (ผ่านกระบวนการของมหาวิทยาลัย)

          – คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบ/อาจารย์ประจำหลักสูตร

          – หลักฐานการเทียบวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ/อาจารย์ประจำหลักสูตร ในกรณีสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ

– ผลงานวิชาการอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ๕ ปีย้อนหลัง

          – กรณีอาจารย์ใหม่ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก แต่ยังไม่มีผลงานทางวิชาการ ถ้าต้องการเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในระดับปริญญาโท-เอก ต้องมีผลงานวิชาการภายหลังการสำเร็จการศึกษา อย่างน้อย ๑ ชิ้น ภายใน ๒ ปี หรืออย่างน้อย ๒ ชิ้น ภายใน ๔ ปี หรือ อย่างน้อย ๓ ชิ้น ภายใน ๕ ปี     

– กรณีปรับเปลี่ยนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หากเอกสารอยู่ในกระบวนการดำเนินการ ให้มีระยะเวลาไม่เกิน ๙๐ วัน

        ๓.๒ คุณสมบัติผู้สอบวิทยานิพนธ์

– คุณสมบัติผู้สอบวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาโท จะต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ไม่น้อยกว่า ๓ คน กรณีไม่เป็นไปตามคุณสมบัตินี้ ให้แต่งตั้งเป็นผู้สอบคนที่ ๔ เป็นต้นไปได้

                       

๔. องค์ประกอบที่ ๒ บัณฑิต

        ๔.๑ ในตัวบ่งชี้ที่ ๒.๑ คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

          – จำนวนบัณฑิตของทุกระดับ ใช้ข้อมูลในหนังสือสูจิบัตร ปี พ.ศ. ๒๕๖๔

          – การกรอกผลคะแนนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ๕ ด้าน เป็นผลรวมของคะแนนเฉลี่ยแต่ละด้านของบัณฑิตแต่ละท่าน

          – คะแนนผลการดำเนินงาน และคะแนนผลการประเมินจะต้องเท่ากัน

        ๔.๒ ในตัวบ่งชี้ที่ ๒.๒ การได้งานทำหรือผลงานวิจัยของผู้สำเร็จการศึกษา

          – ข้อมูลจำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรี ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๒  ใช้สูจิบัตรปี พ.ศ. ๒๕๖๔

          – ข้อมูลระดับปริญญาโท-เอก  ตัวบ่งชี้ ๒.๒ ใช้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ผ่านมติสภามหาวิทยาลัยอนุมัติ  เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔ – พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๕ /ผลงานนิสิตและบัณฑิต ใช้ผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔ – พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๕ โดยนับเฉพาะที่ตีพิมพ์จริง  ไม่นับหนังสือตอบรับของบรรณาธิการ

        ๔.๓ ในตัวบ่งชี้ที่ ๒.๓ บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

          – ทุกหลักสูตร ใช้ข้อมูลการประเมินนิสิตชั้นปีที่ ๔

 

๕. องค์ประกอบที่ ๓ นิสิต

          – ในกรณีที่คณะกรรมการให้คะแนน ๔-๕ คะแนน จะต้องแสดงเหตุผลให้เห็นว่า ระบบที่ปรับปรุงใหม่ใช้ซ้ำแล้วดีขึ้นจริงอย่างไร โดยเขียนไว้ในรายงานผลการประเมิน ตามแบบฟอร์ม

 

๖. องค์ประกอบที่ ๔ อาจารย์

          กรณีที่ไม่มีการรับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบใหม่ ให้เขียนเชิงระบบและกลไกในการับและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และบอกว่า ไม่มีการรับและแต่งตั้งในรอบปีการประเมิน

          – คณะกรรมการ ควรให้ข้อเสนอแนะที่หลักสูตรสามารถนำไปพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรม

          – การให้คะแนนของคณะกรรมการ ควรพิจารณาเป็นภาพรวมของผลการดำเนินงานในทุกประเด็น

          – ผลงานวิชาการของอาจารย์ที่นับได้ในตัวบ่งชี้ที่ ๔.๒ ต้องตีพิมพ์เผยแพร่ในปีการศึกษา ๒๕๖๔ (๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ – ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕)

          – เอกสารประกอบการสอน และเอกสารคำสอน ที่ใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการ ไม่นับเป็นคะแนนผลงานวิชาการ

          – ผลงานสร้างสรรค์ที่จะมานับเป็นคะแนนต้องผ่าน มีเฉพาะหลักสูตรพุทธศิลปกรรม จะต้องดูวิธีการเผยแพร่

– ผลงานสร้างสรรค์ทุกชิ้นต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบไม่น้อยกว่า ๓ คน โดยมีบุคคลภายนอกสถาบันร่วมพิจารณาด้วย คิดค่าน้ำหนักตามระดับการเผยแพร่ ต้องเป็นผลงานศิลปะและสิ่งประดิฏฐ์ทางศิลปะประเภทต่างๆ

 

๗. องค์ประกอบที่ ๕ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

          – กรณีประเมินหลักสูตรในปีที่ปรับปรุงตามรอบระยะเวลา ๕ ปี ให้พิจารณาการให้คะแนนจาก มคอ.๒

          – กรณีไม่ใช่ปีปรับปรุงหลักสูตรตามรอบ ๕ ปี ให้พิจารณาการให้คะแนนจากผลการพัฒนาใน มคอ.๓ และ มคอ.๕

          – การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ของแต่ละหลักสูตร ให้เป็นไปตามที่ มคอ.๒ ระบุไว้

          – การพิจารณาตัวบ่งชี้ที่ ๕.๑ ให้ดู มคอ.๒  มคอ.๓ และ มคอ.๕ ให้เห็นความสอดคล้องของกระบวนการ

          – การพิจารณาตัวบ่งชี้ที่ ๕.๒ ให้ดู มคอ.๓ เป็นหลัก ว่าสอดคล้องกับ มคอ.๒ หรือไม่

          – การพิจารณาตัวบ่งชี้ที่ ๕.๓ ให้ดู มคอ.๕ เป็นหลัก

 

๘. องค์ประกอบที่ ๖ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 

          – เน้นพิจารณาระบบและกลไกการจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนที่เหมาะสมกับหลักสูตร

๙. การส่งรายงานการประเมินตนเองและรายงานผลการประเมิน

– การส่งรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ให้คณะกรรมการก่อนล่วงหน้า ขอให้คณะกรรมการแต่ละคณะประสานงานกับหลักสูตร เพื่อให้ได้ SAR อย่างน้อยก่อนตรวจ ๓ วัน

– รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ให้คณะกรรมการอัพโหลด ลงใน ระบบ MCU E-SAR  โดยไม่ต้องมีลายเซ็นกรรมการ ให้พิมพ์รายชื่อ ฉายาและนามสกุล

– การกรอกรายงานผลการประเมินฯ ระดับหลักสูตร ในระบบ CHEQA Online คณะกรรมการตรวจประเมินตกลงร่วมกันกับส่วนงานเพื่อกรอกข้อมูลลงในระบบ CHEQA Online ระดับหลักสูตร ก่อนการตรวจประเมินระดับส่วนงาน

ดาวน์โหลดเอกสารไฟล์ PDF

สำนักงานประกันคุณภาพ สรุปประเด็น

๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕