ให้ความรู้เรื่อง EdPEx ระดับคณะและมหาวิทยาลัย

๑.  ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้เรื่อง EdPEx ระดับคณะและมหาวิทยาลัย

๒. ชื่อหน่วยงาน : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๓.  ผู้รับผิดชอบโครงการ :  สำนักงานประกันคุณภาพ สำนักงานอธิการบดี

๔.  โครงการเชื่อมโยงกับมาตรฐานของ สกอ. : องค์ประกอบที่ ๕ การบริหารจัดการ

๕. หลักการและเหตุผล

        มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่งเสริมให้ส่วนงานจัดการศึกษานำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence:EdPEx) มาใช้พัฒนาส่วนงาน ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ ส่วนงานจัดการศึกษาใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ๒ ส่วนงาน คือ (๑) วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๐) ได้รับการประเมินครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๗ – ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๓ (๒) วิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติฯ (ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๑) ทั้งนี้ ส่วนงานจัดการศึกษาที่กำลังเตรียมความพร้อมเพื่อใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ๒ ส่วนงานคือ (๑) วิทยาเขตขอนแก่น และ (๒) วิทยาลัยลำพูน

ในปัจจุบัน  มหาวิทยาลัยยังขาดผู้มีประสบการณ์ในการดำเนินงาน EdPEx  ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนและขยายผลนำระบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศไปสู่การปฏิบัติในส่วนงานต่างๆ จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถสนับสนุนส่งเสริมส่วนจัดการศึกษาในการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

.  วัตถุประสงค์

           ๖.๑ เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx)

๖.๒ เพื่อเตรียมบุคลากรให้มีความพร้อมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมส่วนจัดการศึกษาในการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx)

 

๗. การดำเนินงานโครงการ

          ๙.๑ ประสานงานเชิญวิทยากร  และผู้เข้าร่วมอบรมทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่

          ๙.๒ จัดอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ผ่านระบบ zoom online โดยใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น ๓ วัน ตั้งแต่วันที่ ๑๐ – ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

 

๘.  ผลการดำเนินโครงการ

          ๘.๑ เชิงปริมาณ :

                  ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ จากส่วนงานสนับสนุนการศึกษา และส่วนงานจัดการศึกษาระดับคณะ วิทยาเขต วิทยาลัย ห้องเรียน และหน่วยวิทยบริการจำนวน ๔๒ ส่วนงาน และผู้ที่ไม่ระบุชื่อส่วนงาน จำนวนทั้งสิ้น ๓๔๕ รูป/คน

           ๘.๒ เชิงคุณภาพ :

                  บุคลากรของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถสนับสนุนส่งเสริมส่วนจัดการศึกษาในการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ได้  โดยมีผลการประเมินความรู้ความเข้าใจเกณฑ์ EdPEx จากผู้เข้าร่วมอบรม ๒๕๗ รูป/คน ดังนี้  องค์ความรู้ที่มีก่อนการฝึกอบรม ๓.๙๒  องค์ความรู้ที่ได้รับหลังการฝึกอบรม ๔.๓๙  ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม ๔.๕๔  และการนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงาน ๔.๔๕

          ๗.๓   เชิงเวลา : ๑๐ – ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

 

 ๙. งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน     

          งบประมาณมหาวิทยาลัย ๒๕,๐๐๐ บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

       

 ๑๐. ผลการประเมินตัวชี้วัดผลสำเร็จจากการดำเนินงาน

          ๑๐.๑ ผลผลิต

          – ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ :

                  ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ ๑๐๐

          – ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ :

                  ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ มีความรู้และเข้าใจและสามารถสนับสนุนส่งเสริมส่วนจัดการศึกษาในการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ได้ ร้อยละ ๘๐

          ๑๐.๒ ผลลัพธ์ :

                  ผลการดำเนินงาน ทำให้มีส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยแจ้งความประสงค์เพื่อนำระบบ  EdPEx ไปใช้เพิ่มขึ้น  ๔ ส่วนงาน ได้แก่  วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส จ.นครปฐม  วิทยาเขตขอนแก่น  วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี และวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ

 

 

๑๑. ผลสำรวจความคิดเห็น

ตอนที่ ๑  ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากร

 ตารางที่   ๑   จำนวนร้อยละด้านสถานะของบุคลากร ที่ตอบแบบสอบถาม

ข้อมูลทั่วไป

จำนวน (n)

ร้อยละ

สถานะ

          บรรพชิต

๑๒๘

๔๙.๘๐

          คฤหัสถ์ชาย

๘๕

๓๓.๑๐

          คฤหัสถ์หญิง

๔๔

๑๗.๑๐

รวม

๒๕๗

๑๐๐.๐๐

           จากตารางที่ ๑ พบว่า ผู้ที่เข้าร่วมอบรมโครงการให้ความรู้ EdPEx ระดับคณะและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนใหญ่มีสถานะเป็นบรรพชิต คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๘๐ รองลงมาเป็นคฤหัสถ์ชาย คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๑๐ และเป็นคฤหัสถ์หญิง คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๑๐ ตามลำดับ

 

ตารางที่   ๒   จำนวนร้อยละด้านตำแหน่งของบุคลากร ที่ตอบแบบสอบถาม

ข้อมูลทั่วไป

จำนวน (n)

ร้อยละ

ตำแหน่ง

 

ผู้บริหาร

๘๗

๓๓.๙๐

อาจารย์

๑๒๔

๔๘.๒๐

บุคลากรสายปฏิบัติการ

๔๖

๑๗.๙๐

รวม

๒๗๕

๑๐๐.๐๐

           จากตารางที่ ๒ พบว่า ผู้ที่เข้าร่วมอบรมโครงการให้ความรู้ EdPEx ระดับคณะและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนใหญ่มีตำแหน่งเป็นอาจารย์ คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๒๐ รองลงมามีตำแหน่งเป็นผู้บริหาร คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๙๐ และมีตำแหน่งเป็นบุคลากรสายปฎิบัติการ คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๙๐ ตามลำดับ

 

 

ตอนที่ ๒ ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงใจต่อกิจกรรมและประเมินความสำเร็จของโครงการ

 ตารางที่ ๓   ภาพรวมของเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ               

การปฏิบัติงานตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน

ระดับความพึงพอใจ

M

S. D.

แปลผล

ด้านการเตรียมงาน

๔.๕๑

๐.๔๗

มากที่สุด

ด้านผู้เข้าร่วม

๔.๓๒

๐.๖๐

มาก

ด้านวิทยากร

๔.๖๑

๐.๔๙

มากที่สุด

รวม

.๔๘

.๔๖

มาก

              จากตารางที่ ๓ พบว่า ผู้ที่เข้าร่วมอบรมโครงการให้ความรู้ EdPEx ระดับคณะและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับ “มาก” มีความเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๘ เมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่าด้านวิทยากร อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๑ด้านการเตรียมงาน อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๑  และด้านผู้เข้าร่วม อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๓๒ ตามลำดับ

 

 ตารางที่  ๔  ด้านการเตรียมงาน                   

ด้านการเตรียมงาน

ระดับความพึงพอใจ

M

S. D.

แปลผล

๑. วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม

๔.๖๒

๐.๕๑

มากที่สุด

๒. การอำนวยความสะดวก/การประชาสัมพันธ์

๔.๕๑

๐.๕๖

มากที่สุด

๓. ความเหมาะสมด้านเวลา

๔.๔๖

๐.๕๗

มาก

๔. รูปแบบการฝึกอบรม

๔.๔๗

๐.๖๐

มาก

รวม

.๕๑

๐.๔๗

มากที่สุด

                   จากตารางที่ ๔ พบว่า ผู้ที่เข้าร่วมอบรมโครงการให้ความรู้ EdPEx ระดับคณะและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ด้านการเตรียมงาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีความเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๑ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า จากข้อคำถามในข้อความว่า วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๒ จากข้อคำถามในข้อความว่า การอำนวยความสะดวก/การประชาสัมพันธ์ อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๑ จากข้อคำถามในข้อความว่า รูปแบบการฝึกอบรม อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๔๗ และจากข้อคำถามในข้อความว่า ความเหมาะสมด้านเวลา อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๔๖ ตามลำดับ

 

ตารางที่  ๕  ด้านผู้เข้าร่วม                   

ด้านผู้เข้าร่วม

ระดับความพึงพอใจ

M

S. D.

แปลผล

๑. องค์ความรู้ที่มีก่อนการฝึกอบรม

๓.๙๒

๑.๑๐

มาก

๒. องค์ความรู้ที่ได้รับหลังการฝึกอบรม

๔.๓๙

๐.๖๓

มาก

๓. ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม

๔.๕๔

๐.๕๘

มากที่สุด

๔. การนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของท่าน

๔.๔๕

๐.๖๑

มาก

รวม

.๓๒

๐.๖๐

มาก

                   จากตารางที่ ๕  พบว่า ผู้ที่เข้าร่วมอบรมโครงการให้ความรู้ EdPEx ระดับคณะและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ด้านผู้เข้าอบรม โดยภาพรวม อยู่ในระดับ “มาก” มีความเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๓๒ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า จากข้อคำถามในข้อความว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๔ จากข้อคำถามในข้อความว่า การนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของท่าน อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๕ จากข้อคำถามในข้อความว่า องค์ความรู้ที่ได้รับหลังการฝึกอบรม อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๓๙ และจากข้อคำถามในข้อความว่า องค์ความรู้ที่มีก่อนการฝึกอบรม อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๓.๙๒ ตามลำดับ

 

ตารางที่  ๖  ด้านวิทยากร                   

ด้านวิทยากร

ระดับความพึงพอใจ

M

S. D.

แปลผล

๑. การเตรียมความพร้อมของวิทยากร

๔.๖๖

๐.๕๒

มากที่สุด

๒. การถ่ายทอดความรู้ อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนตรงประเด็น

๔.๖๖

๐.๕๑

มากที่สุด

๓. มีเทคนิคในการบรรยาย น่าสนใจ

๔.๕๔

๐.๖๓

มากที่สุด

๔. เอกสารประกอบการบรรยายเหมาะสม

๔.๖๑

๐.๕๘

มากที่สุด

๕. การเปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็น

๔.๕๗

๐.๕๓

มากที่สุด

รวม

.๖๑

๐.๔๙

มากที่สุด

                   จากตารางที่ ๖ พบว่า ผู้ที่เข้าร่วมอบรมโครงการให้ความรู้ EdPEx ระดับคณะและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ด้านผู้เข้าอบรม โดยภาพรวม อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีความเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๑ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า จากข้อคำถามในข้อความว่า การเตรียมความพร้อมของวิทยากร และการถ่ายทอดความรู้ อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนตรงประเด็น อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๖ จากข้อคำถามในข้อความว่า เอกสารประกอบการบรรยายเหมาะสม อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๑ จากข้อคำถามในข้อความว่า การเปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็น อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๕๗ และจากข้อคำถามในข้อความว่า มีเทคนิคในการบรรยาย น่าสนใจ อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๕๔ ตามลำดับ

 

สรุปผลการวิเคราะห์

ผู้ที่เข้าร่วมอบรมโครงการให้ความรู้ EdPEx ระดับคณะและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนใหญ่มีสถานะเป็นบรรพชิต คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๘๐ รองลงมาเป็นคฤหัสถ์ชาย คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๑๐ เป็นคฤหัสถ์หญิง คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๑๐ มีตำแหน่งเป็นอาจารย์ คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๒๐ รองลงมามีตำแหน่งเป็นผู้บริหาร คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๙๐ และมีตำแหน่งเป็นบุคลากรสายปฏิบัติการ คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๙๐

          ด้านภาพรวมของเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ ผู้ที่เข้าร่วมอบรมโครงการให้ความรู้ EdPEx ระดับคณะและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับ “มาก” มีความเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๘ เมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่าด้านวิทยากร อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๑ด้านการเตรียมงาน อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๑  และด้านผู้เข้าร่วม อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๓๒

 

ตอนที่ ๓ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนากระบวนการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน

ผู้ตอบแบบสอบถามได้แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายและนับว่าเป็นประโยชน์ต่อโครงการและระบบประกันคุณภาพในอนาคต สรุปเป็นประเด็นสําคัญ ๆ ดังนี้

– อยากให้จัดเรื่อยๆจนกว่าจะบุคลากร มจร.จะเข้าใจ EdPeX เป็นอย่างดี

– ควรเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ

– ควรอบรมเพิ่มเติมอีกครัั้ง

– อยากให้มีการอบรมอย่างต่อเนื่อง

– มีการลงมือปฏิบัติด้วย จะเพิ่มเติมสมรรถนะให้ผู้เข้าอบรมและส่วนงานได้ใช้ประโยชน์ได้ทันทีตาม

– ปรับเวลาอบรมลงนิดหน่อยน่าจะดี

– เป็นการสัมมนาที่ดีให้แนวปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน

– ควรแปะลิ้งค์สำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้มีโอกาส ทบทวน ได้รับความรู้ เพื่อมาปรับปรุงใช้

– ถ้าเป็นการอบรมในที่ตั้งจะเป็นประโยชน์มาก

– เป็นโครงการที่ดีมาก

– รูปแบบการจัดการอบรมผ่านระบบออนไลน์ มีความเหมาะสม 

– ควรจัดอบรมสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อกระตุ้นให้ ผบ.ตระหนักถึงความสำคัญและเร่งรัดเข้าสู่ระบบ edpex โดยสรุปย่อประเด็นสำคัญเหลือ ๑ วัน จะเป็นประโยชน์ยิ่ง

– อยากให้มีการส่งตัวแทนอบรมเรื่อง EdPex ที่ส่วนกลางเพื่อเข้าใจถึงแนวทางการปฏิบัติเพื่อนำมาปรับใช้กับส่วนงาน

– ควรมอบนโยบายให้ทุกส่วนงานเริ่มใช้เกณฑ์ประเมินนี้ ภายในปีการประเมินหน้าเลย

– วิทยากรผู้บรรยายให้ความรู้ดีมากและสร้างแรงกำลังใจในการก้าวต่อเพื่อองค์กร

– ขอบคุณที่จัดอบรมกิจกรรม อยากให้ผู้บริหารรับฟังด้วยจะเกิดประโยชน์มาก

– ทฤษฎีได้ความรู้ที่ดี เหลือฝึกปฏิบัตการจริง

– แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกณฑ์ EdPEx ลงสู่ระดับปฏิบัติการให้มากๆ

– ควรอบรมเชิงปฏิบัติการ

– ควรเพิ่มองค์ความรู้รูปแบบการประเมินแบบนี้แก่บุคลากรของหน่วยงานอีกรอบ

– อยากให้ วข/วส ที่เข้า EdPEx จัดอบรมให้กับ วข/วส ต่อไป

– เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนามหาวิทยาลัย

– ควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มด้วย

– น่าจะมีการสัมมนาเฉพาะผู้บริหารในแต่ส่วนงานสักครั้ง

– อยากได้เล่มตัวอย่างในการทำ ของมหาวิทยาลัยที่ทำเสร็จแล้วเพื่อมาเป็นแนวทางแบบรูปธรรม

– กิจกรรมนี้ มีประโยชน์มาก สมควรจัดอบรมบ่อย ๆ จัดให้มีบุคคลผู้ประสานงาน มีส่วนงานที่นำร่องใช้

– เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ และใช้เป็นตัวอย่างในการทำงาน.

– ขอให้มีเวลาให้มากกว่านี้

– ดีมากๆ อยากให้มีการพัฒนาและต่อยอดไปทุกๆปี

– ควรจัดอบรม ทบทวนเสมอๆ

– ควรเน้นภาคปฏิบัติ

– น่าจะมีการ work shop เป็นระยะๆ ในแต่ละหัวข้อ

– เห็นควรจัดอบรมสัมมนาแบบนี้อีกอย่างต่อเนื่องทุกปีหรือละ ๒- ๓ ครั้งเพื่อให้บุคลากรได้มีความรู้ความ- เข้าใจและนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

– เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการประกันคุณภาพการศึกษาต่อไป

– ควรมีการจัดอบรมบ่อยๆ เพื่อจะได้กระตุ้นทุกส่วนงานได้เข้าEdPEx

– มีประโยชน์มาก

– ได้รับความรู้มาก

– ต้องให้ผู้บริหารระดับสูงมาฟังแนวด้วย ถ้าผู้บริหารไม่ก้าวนำ ลูกน้องก็ก้าวตามลำบาก

– อยากให้จัดอบรมแบบนี้อีกเพื่อสร้างความเข้าใจ

– ควรลงมือทำในแต่ล่ะส่วนงานเพื่อให้บรรลุพันธกิจประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง

– เยี่ยมมาก เหมาะสมแล้ว

– ดีแล้วอยากให้มีบ่อย ๆ เพราะเป็นการเรียนรู้ร่มกันทุกส่วนงานให้มีแนวทางทิศทางที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

– คงต้องเรียนรู้อีกหน่อย เพื่อให้เดินไปด้วยกันได้ทั้งระบบ

– เป็นโครงการที่ดี ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กรได้ดีมาก

– ควรมีการอบรมแยกเป็นทีละหมวด แต่ละกลุ่มงานที่รับผิดชอบ มจร ส่วนกลาง ควรสั่งการ ระบบ Edpex  ได้เลย 

– เป็นกิจกรรมที่ดี เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย

– วิทยากรเก่งมาก ความรุ้ความเชี่ยวชาญสูงมาก ท่านอธิบายเร็วไปหน่อย ผมความรู้น้อยเพิ่งเคยมาอบรมครั้งแรก หลายเรื่องตามไม่ทันน่ะ คงต้องจัดอบรมหลายๆ ครั้งถึงจะพอตามทัน

– วิทยากรเสียงเบา

– ขอบคุณสำนักงานประกันคุณภาพ ที่จัดอบรมเรื่องนี้

– ควรมีวิดีโอเผยแผ่ในสื่อมหาลัยด้วยจะดี

– ควรมีภาคปฎิบัติจะดีมากๆ

– ควรจัดให้ผู้บริหารเข้าร่วมอบรมด้วยจะดีมาก

– ควรมีการจัดอบรมอย่างต่อเน่ือง

– ได้รับประโยขน์ และเข้าใจอย่างมากมาย

– ควรอบรมเชิงปฏิบัติการแต่ละหน่วยงาน

– การส่งเอกสารประกอบการบรรยายให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ยังไม่ชัดเจน

– ควรจัดให้ความรู้สำหรับหน่วยที่จะเข้าโดยตรงอีกครั้ง

– สร้างการรับรู้แก่บุคลากรทุกระดับ และปรับกระบวนทัศน์ทั้งระบบ

– จัดอบรมเพิ่มเติมแต่ละหน่วยงาน เพื่อทำความเข้าใจมากขึ้น

– อยากให้มีการอบรมส่วนงานที่ตอบรับเข้าร่วมใช้เกณฑ์การประเมินแบบ EdPEx อีกครั้ง

– อยากให้มีการให้ความรู๋แก่ระดับผู้บริหาร (ภาคบังคับ) ถึงแม้หน่วยงานจะไม่ได้เข้าสู่ระบบ EdPEx แต่จะได้มีความรู้ ได้รับแนวคิด มีโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น

– ระยะเวลายาวนานไป

– ในส่วนของการให้ความรู้กับผู้บริหารในเรื่อง EdPEx ควรใช้วิธีการสรุปความเป็นเมนคอนเซ็ปส์และแต่งละหมวดแต่ละเรื่อง และให้เห็นประโยชน์เชิงพัฒนาองค์กร และสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องลงทำหรือช่วยผลักดัน การพัฒนาองค์กรโดยใช้แนวทาง EdPEx อาจจะเวลา แค่วันเดียวก็น่าจะพอ ส่วนรายละเอียดค่อยเรียนรู้ไปพร้อมการลงมือทำเมื่อเข้าสู่ EdPEx

– เป็นการอบรมที่ดีมาก

– เวลาอบรมนานเกินไป ทำให้ทำเรื่องอื่นในภาระไม่สะดวก และเข้าอบรมไม่ต้องต่อเนื่อง เพราะต้องสอนไปด้วย

– ควรจัดกิจกรรมนี้อีก

– ขอเอกสารตัวอย่างจากองค์กรที่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับEdPex จะเพิ่มความเข้าใจในการบรรยายมากขึ้น

– สำนักประกันฯควรจัดการอบรมให้ความรู้เป็นโซนๆ (ภาค) จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง

– ควรมีบ่อยๆเพื่อพัฒนาการจัดการองค์กรเตรียมความพร้อมยกระดับสู่การใช้ระบบ EdPEx อย่างสมบูรณ์

– ควรมีการอบรมอีกพอสมควรเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

– เป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อหน่วยงานโดยรวม

– จำนวนผู้เข้าอบรมมาก ต้องให้เข้าอบรมทีละภูมิภาคจะดีกว่านี้คับเพื่อจะได้สักถามกันเลยว่าเข้าใจหรือเปล่า

– การเข้าร่วมอบรมทำได้ไม่เต็มที่เนื่องจากใช้เวลาหลายวันและทางส่วนงานตนเองมีภาระงานที่ต้องทำจึงทำให้บางทีนั่งทำงานไปด้วยฟังวิทยากรไปด้วยทำให้ได้รับองค์ความรู้ไม่เต็มที่

– ควรมีโครงการแบบนี้อีก

– อยากให้จัดต่อเนื่องและเพิ่มจำนวนผู้เข้าอบรมมากขึ้น

– เยี่ยมจริงๆๆ

– เป็นโครงการที่ดีมาก และเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะดียิ่งๆขึ้นไปถ้าได้ลงพื้นที่ให้ความรู้ในระดับวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ทั่วประเทศ

– เห็นสมควรจัดอบรมองค์ความรู้ EdPEx รอบปีต่อ ๑ ครั้ง

– ควรจัดให้ความรู้เพื่มเติมและทบทวนทำความเข้าใจให้มากขึ้น

– อยากให้ผู้บริหารระดับสูงในแต่ละแห่งเข้าร่วมและนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงต้องบังคับให้ทำอย่ามัวแต่เกรงใจกัน

– อยากได้เทปบรรยายย้อนหลังทั้งหมด เพื่อจะได้ทบทวนทำความเข้าใจอีกครั้ง ขอให้ทีมงานแขวนไว้ในช่องทางใดทางหนึ่งไว้ จะเป็นประโยชน์มาก

– อยากให้ลงลึกและพัฒนาในกลุ่มผู้บริหารระดับสูงให้มีทัศนเชิงบวกในเรื่องนี้

– ควรจัดอบรมทุกปี

– โครงการนี้ เป็นโครงการที่มีประโยชน์ ช่วยกระตุ้นให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ พัฒนาขีดความสามารถเพื่อพัฒนาและแข่งขัน

– เรื่องที่สำคัญอย่านี้ อยากให้ผู้บริหารเข้ารับฟังด้วย

– จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ เข้าก่อน- พี่เลี้ยง – เข้าใหม่

– ส่วนประกัน มจร ควรจัดให้ความรู้ในเรื่องนี้ให้ทุกโซน มจร

– ควรวางระบบเพื่อให้ส่วนงานเข้าสู่ระบบให้ครบภายใน ๒ ปี

– อยากให้เกิดขึ้นจริง ในส่วนงานคณะมนุษยศาสตร์ ส่วนกลาง

– เนื้อหาดีมาก ทำได้ถ้าร่วมมือกัน มองภาพและทิศทางเดียวกัน เข้าใจเมื่อร่วมคิดร่วมกันทำ

– การออกแบบการฝึกอบรม ควรมีการแบ่งกลุ่ม สายผู้บริหาร บุคลากร เจ้าหน้าที่ เพราะจากการฟังการบรรยายสาระเนื้อหามีการแบ่งระดับ ฝ่ายปฎิบัติการก็ควรมีภาคต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำที่ชัดๆ ผ่านออนไลน์มีข้อจำกัดมากขาดทักษะการลงมือ การใช้มันสมองร่วมกันในองค์กร / และต่อจากนี้ควรตั้งทีมงาน วางแผนงาน ติดตามผลลัพธ์ตามโครงสร้างโดยใช้ระบบเป็นฐาน และพัฒนาฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ …

– ควรจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อทำเวิร์คชอป สำหรับส่วนงานที่จะรับประเมิน

– เป็นโครงการที่ดี ควรจัดการอบรมโดยมีการปฏิบัติการเขียนด้วย

– การอบรมสามารถคิดได้ พูดได้ แต่จะทำอย่างไรไปสู่การคิดที่เป็นระบบ สื่อสารสู่การกระทำเพื่อให้เกิดจริงจะได้ก้าวไปสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ

– ตรวจประเมินให้ผ่านกันมาตั้งหลายปี วันนี้ผลตรวจกลายเป็นไม่ผ่านซะแล้ว

– ขอบคุณ สำหรับโครงการดีดี เพื่อการพัฒนา มจร

– เป็นการอบรมที่ให้ความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรต่อไป