สรุปโครงการอบรม EdPEx ระดับคณะและวิทยาลัย

โครงการให้ความรู้เรื่อง “EdPEx ระดับคณะและมหาวิทยาลัย

(กระบวนการจัดทำโครงร่างองค์กร (OP) และการจัดทำแผนพัฒนาองค์กร

ระหว่าง วันที่ ๑๒-๑๓ เดือนพฤศจิกายน   ๒๕๖๕

ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖

 

หลักการและเหตุผล

          มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่งเสริมให้ส่วนงานจัดการศึกษานำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence:EdPEx) มาใช้พัฒนาส่วนงาน ในปีการศึกษา ๒๕๖๕ ส่วนงานจัดการศึกษาใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ๑๑ ส่วนงาน แยกเป็นส่วนงานที่ใช้เกณฑ์ EdPEx มากกว่า ๓ ปี มี ๒ ส่วนงาน คือ (๑) วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (๒) วิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติฯ และส่วนงานที่ใช้เกณฑ์ EdPEx ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๕ มี ๙ ส่วนงาน คือ (๑) วิทยาเขตขอนแก่น (๒) วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม (๓) คณะสังคมศาสตร์ (๔) วิทยาเขตพะเยา (๕) วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด (๖) วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี (๗) วิทยาลัยสงฆ์ศรีษะเกษ (๘) วิทยาลัยลำพูน และ (๙) วิทยาลัยสงฆ์ราชบุรี

เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมและขับเคลื่อนการดำเนินงานเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ในส่วนงานจัดการศึกษาที่เริ่มใช้เกณฑ์ EdPEx ในปีการศึกษา ๒๕๖๕ จำนวน ๙ ส่วนงาน สำนักงานประกันคุณภาพ จึงได้จัดโครงการให้ความรู้เรื่อง EdPEx ระดับคณะและมหาวิทยาลัย

 

วัตถุประสงค์

          ๑ เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx)

          ๒ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมส่วนจัดการศึกษาในการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx)

 

กลุ่มเป้าหมาย

          ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัย ของส่วนงานจัดการศึกษาในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก จำนวน ๙ ส่วนงานดังนี้

          ๑. คณะสังคมศาสตร์                ๒. วิทยาเขตขอนแก่น              ๓. วิทยาเขตพะเยา

          ๔. วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส    ๕. วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน              ๖. วิทยาลัยสงฆ์ราชบุรี

          ๗. วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ           ๘. วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาฯ      ๙. วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด

 

เป้าหมายผลผลิต

          ๑ เชิงปริมาณ : ผู้บริหารของส่วนงานจัดการศึกษาที่ใช้เกณฑ์ EdPEx ในปีการศึกษา ๒๕๖๕ จำนวน ๙ ส่วนงาน ๖๐ รูป/คน มีผู้เข้าร่วมจากส่วนงานจัดการศึกษา ทั้งหมด ๕๑ รูป/คน คิดเป็นร้อยละ ๘๕ ส่วนงานเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๙ ส่วนงาน

          ๒ เชิงคุณภาพ : ผู้บริหารของส่วนงานจัดการศึกษา มีความรู้และเข้าใจและสามารถดำเนินงานเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ได้

           

กิจกรรมการดำเนินงาน

          ๑) บรรยายสร้างความรู้ความเข้าใจ การดำเนินงาน ในการใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ

         

๒) ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดทำโครงร่างองค์กร (OP) การจัดทำแผนพัฒนาองค์กร และวิธีการเขียนผลลัพธ์ ในหมวดที่ ๗

          ๓) ปฏิบัติการจัดทําโครงร่างองค์กร (OP) การ

เป้าหมายการดําเนินงาน

          ๑. ด้านปริมาณ

                    ๑) ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของคณะ วิทยา เขต วิทยาลัย เข้าร่วมกิจกรรมแห่งละไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

                    ๒) คณะ วิทยาเขต วิทยาลัย ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๙ ส่วนงาน

          ๒. ด้านคุณภาพ

                    แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดทําโครงการร่างองค์กร (OP) การจัดทำแผนพัฒนาองค์กรด้วยเกณฑ์ EdPEx จำนวน 8 แผน และผลลัพธ์ (Results) ในหมวดที่ ๗

          ๓ เชิงเวลา : ๑๒ – ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕

          ๔. สถานที่ดำเนินการ :  หอประชุม มวก. ๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

          – ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : ผู้บริหารของส่วนงานจัดการศึกษาที่ใช้เกณฑ์ EdPEx เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ ๑๐๐

– ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ : ผู้บริหารของส่วนงานจัดการศึกษา มีความรู้และเข้าใจและสามารถดำเนินงานเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ได้ ร้อยละ ๘๐

          – ผลลัพธ์ : ผู้บริหารส่วนงานจัดการศึกษานำระบบ  EdPEx ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

กิจกรรม

การดำเนินงาน สำหรับส่วนงานที่ใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่เป็นเลิศ (EdPEx)

          ปีที่ ๑ : ส่วนงานจัดการศึกษา นำส่ง โครงร่างองค์กร (OP) / แผนพัฒนาองค์กร และ Common Data ในระบบ CHE QA Online

          ปีที่ ๒ : ส่วนงานจัดการศึกษา ปรับปรุง โครงร่างองค์กร (OP) / รายงานความก้าวหน้าของแผนพัฒนาองค์กร / แผนพัฒนาองค์กรในปีที่ ๒ / Common Data ในระบบ CHE QA Online

          ปีที่ ๓ : ส่วนงานจัดการศึกษารับการประเมินจากมหาวิทยาลัยเต็มรูปแบบ จัดทำรายงานการประเมินตนเอง จำนวนไม่เกิน ๖๐ หน้า

          ในการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จำเป็นที่ผู้บริหารต้องวางระบบบริหารจัดการให้สอดคล้องและบูรณาการกันทั่วทั้งองค์กรโดยยึดแนวคิด Strategic  Line of Sight

 

กระบวนการจัดทำกลยุทธ์และการนำสู่การปฏิบัติ

          – การเตรียมข้อมูลป้อนเข้า

          – การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมสำหรับการจัดกลยุทธ์

          – การกำหนดกลยุทธ์

          – การแปลงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติการ

          – การติดตามและประเมินผลกลยุทธ์

 

ระบบงาน (Work system)

          หมายถึง : วิธีการที่คณะฯ ใช้เพื่อทำงานให้บรรลุผล ระบบงานต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของบุคลากร และคู่ความร่วมมือที่สำคัญ และองค์ประกอบอื่นๆ ที่จำเป็นในการดำเนินตามหลักสูตร และบริการ รวมทั้งการดำเนินกระบวนการธุรกิจ และกระบวนการสนับสนุนต่างๆ เพื่อส่งมอบสิ่งที่มีคุณค่าให้ผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น และทำให้ประสบความสำเร็จในอนาคต

          การตัดสินใจเกี่ยวกับระบบงานเป็นเรื่องเชิงกลยุทธ์ ซึ่งครอบคลุมถึงการปกป้องและการใช้ประโยชน์จากสมรรถนะหลักของคณะ และตัดสินใจว่าสิ่งใดที่คณะควรจัดจ้างหรือดำเนินการภายนอกสถาบัน เพี่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืนของคณะ

          – ระบบงาน (Work system) ต้องชัดเจน

          – ระบบงานประกอบด้วยกระบวนการทำงานที่สำคัญ แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ

                   ๑. Management process

                   ๒. Core work process (Key work process)

                   ๓. Support process

 

องค์ประกอบในการออกแบบระบบงาน

          ระบบงาน ประกอบด้วย

          วิสัยทัศน์/พันธกิจ          กลยุทธ์และเป้าประสงค์   ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย        บริการและช่องทางบริการ          โครงสร้างธุรกิจ  สมรรถนะหลักขององค์กร           Financia I Model        Facility & Technology  กระบวนการที่สำคัญ   โครงสร้างองค์กร           คู่วามร่วมมือ/ผู้ส่งมอบ

 

แนวคิดการออกแบบและการจัดการกระบวนการ

การออกแบบจำเป็นต้องมีข้อกำหนด

          – ความต้องการของลูกค้า/ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

          – ขีดความสามารถของหน่วยงานเองและความพร้อมของทรัพยากร

          – ความสามารถของการจัดหาทรัพยากรและความต่อเนื่องของงบประมาณ

          – มาตรฐานการควบคุม

          – ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อกระบวนการ เช่น กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและเทคโนโลยี แนวโน้มของพฤติกรรมผู้บริโภค ตลาดทางสังคม

          – ปัจจัยของผลกระทบที่อาจมีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะสั้นและยาว

          – ความเป็นไปได้ในการตอบสนองความต้องการของผู้บริการทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

          – ความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยน การประสานงานกับส่วนงานอื่นในแนวดิ่งและในแนวราบ

 

จาก Product นำสู่กระบวนการทำงาน

หลักสูตร                             กระบวนการจัดการศึกษา

วิจัย                                  กระบวนการวิจัย

บริการวิชาการ                      กระบวนการบริการวิชาการ

ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม           กระบวนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

 

         

ผลการประเมินโครงการจากแบบสอถาม

๑  ข้อมูลส่วนบุคคล

 

ตอนที่ ๑  ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากร

 

ตารางที่   ๑   จำนวนร้อยละของส่วนงานจัดการศึกษา ที่เข้าร่วมอบรมโครงการฯ

ข้อมูลทั่วไป

จำนวน (n)

ร้อยละ

 

 

ส่วนงาน

จัดการศึกษา

คณะสังคมศาสตร์

๘.๐๐

๑๕.๖๙

วิทยาเขตขอนแก่น

๕.๐๐

๙.๘๐

วิทยาเขตพะเยา

๗.๐๐

๑๓.๗๓

วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส

๕.๐๐

๙.๘๐

วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน

๗.๐๐

๑๓.๗๓

วิทยาลัยสงฆ์ราชบุรี

๔.๐๐

๗.๘๔

วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ

๕.๐๐

๙.๘๐

วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาฯ

๔.๐๐

๗.๘๔

วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด

๖.๐๐

๑๑.๗๖

รวม

๕๑.๐๐

๑๐๐.๐๐

 

          จากตารางที่ ๑ พบว่า ส่วนงานจัดการศึกษาที่เข้าร่วมอบรมโครงการฯ ส่วนใหญ่เป็น คณะสังคมศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๖๙ รองลงมาเป็นวิทยาเขตพะเยาและวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๗๓ วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๗๖  วิทยาเขตขอนแก่น วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆสและวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ คิดเป็นร้อยละ ๙.๘๐  วิทยาลัยสงฆ์ราชบุรีและวิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาฯ คิดเป็นร้อยละ ๗.๘๔  ตามลำดับ

 

ตารางที่   ๒   จำนวนร้อยละด้านตำแหน่งของผู้ที่เข้าร่วมอบรมโครงการฯ

ข้อมูลทั่วไป

จำนวน (n)

ร้อยละ

ตำแหน่ง

 

ผู้บริหาร

๒๕.๐๐

๔๙.๐๐

อาจารย์

๑๙.๐๐

๓๗.๓๐

สายปฏิบัติการ

๗.๐๐

๑๓.๗๐

รวม

๕๑.๐๐

๑๐๐.๐๐

 

          จากตารางที่ ๒ พบว่า ผู้ที่เข้าร่วมอบรมโครงการฯ ส่วนใหญ่มีตำแหน่งเป็นผู้บริหาร คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๐๐ รองลงมาเป็นอาจารย์ คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๓๐ และสายปฏิบัติการ คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๗๐ตามลำดับ

 

ตารางที่   ๓   จำนวนร้อยละผู้ที่เคยเข้ารับการฝึกอบรม EdPEx ของผู้ตอบแบบสอบถาม

ข้อมูลทั่วไป

จำนวน (n)

ร้อยละ

เคยเข้ารับการฝึกอบรม EdPEx

ไม่เคยเข้าอบรม EdPEx

๑๑.๐๐

๒๑.๖๐

๑-๓ ครั้ง

๓๒.๐๐

๖๒.๗๐

มากกว่า ๓ ครั้ง

๘.๐๐

๑๕.๗๐

รวม

๕๑.๐๐

๑๐๐.๐๐

 

          จากตารางที่ ๓ พบว่า ผู้ที่เข้าร่วมอบรมโครงการฯ ส่วนใหญ่ เคยเข้าอบรม EdPEx แล้ว ๑-๓ ครั้ง คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๗๐ รองลงมายังไม่เคยเข้าอบรม EdPEx คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๖๐ และเคยอบรม EdPEx มากกว่า ๓ ครั้ง  คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๗๐ ตามลำดับ

 

ตอนที่ ๒ ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงใจต่อกิจกรรมและประเมินความสำเร็จของโครงการ

          เครื่องหมายใช้ในการวิเคราะห์

              X-bar เท่ากับ            ค่าเฉลี่ยคะแนน

              S.D. เท่ากับ            เบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

เกณฑ์ในการวิเคราะห์คะแนน ผู้ศึกษาข้อมูลได้ให้คะแนนตามค่าเฉลี่ยเพื่อกำหนดในการวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้

มากที่สุด          ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ                    ๔.๕๐-๕.๐๐

มาก               ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ                    ๓.๕๐-๔.๔๙

ปานกลาง        ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ                     ๒.๕๐-๓.๔๙   

น้อย              ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ                     ๑.๕๐-๒.๔๙

น้อยที่สุด         ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ                    ๑.๐๐-๑.๔๙

 

 

ตารางที่ ๔   ภาพรวมของโครงการอบรม EdPEx

               

ความพอใจต่อกิจกรรมโดยภาพรวม

ระดับความพึงพอใจ

X-bar

S. D.

แปลผล

ภาพรวมของโครงการอบรม EdPEx

๔.๑๒

๐.๔๖

มาก

รวม

๔.๑๒

๐.๔๖

มาก

 

            จากตารางที่ ๔ พบว่า ภาพรวมของโครงการอบรม EdPEx โดยภาพรวม อยู่ในระดับ “มาก” มีความเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๒

 

ตารางที่ ๕   แสดงการประเมินผลการดำเนินโครงการ

                

ความพึงพอใจต่อการเตรียมงาน

ระดับ

X-bar

S. D.

แปลผล

๑. ความรู้ความเข้าใจเรื่องเกณฑ์ EdPEx

๔.๑๖

๐.๖๔

มาก

๒. ความรู้ความเข้าใจกระบวนการของ EdPEx

๓.๙๘

๐.๖๕

มาก

๓. ความพร้อมในการใช้งาน EdPEx

๔.๑๐

๐.๖๑

มาก

๔. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการทำงาน

๔.๐๔

๐.๖๓

มาก

๕. สามารถเผยแพร่ความรู้ส่งต่อให้บุคลากรภายในส่วนงาน

๔.๒๐

๐.๖๖

มาก

๖. ความพอใจต่อกิจกรรมโดยภาพรวม

๔.๒๔

๐.๖๕

มาก

รวม

.๑๒

.๔๖

มาก

 

            จากตารางที่ ๕ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความพึงพอใจต่อการเตรียมงาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับ “มาก”  มีความเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๑๒ เมื่อพิจารณารายข้อ  พบว่า ความพอใจต่อกิจกรรมโดยภาพรวม อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๒๔  สามารถเผยแพร่ความรู้ส่งต่อให้บุคลากรภายในส่วนงาน อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๒๐ ความรู้ความเข้าใจเรื่องเกณฑ์ EdPEx  อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๑๖ ความพร้อมในการใช้งาน EdPEx  อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๑๐ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการทำงาน อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๐๔ และความรู้ความเข้าใจกระบวนการของ EdPEx  อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๓.๙๘ ตามลำดับ

 

ตอนที่ ๔ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

ผู้ตอบแบบสอบถามได้แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายและนับว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการ สรุปเป็นประเด็นสําคัญ ๆ ดังนี้

 

ก) ข้อเสนอแนะต่อการจัดโครงการฯ

-มีความเหมาะสมกับช่วงเวลารวมทั้งระยะเวลาที่เหมาะสมกับเนื้อหาและควรมีการจัดอบรมต่อเนื่องเป้นประจำทุกปี อย่างน้อย ปี ละ ๓ ครั้ง เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น

-เป็นโครงการที่ดีที่สามารถนำความรู้มาปฏิบัติได้จริงและก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับพัฒนาองค์กร

-ช่วงเวลาในการฝึกปฏิบัติน้อยเกินไปและผู้เข้าอบรมควรศึกษาอ่านข้อมูลหรือทำการบ้านมาก่อนล่วงหน้า

-วิทยากรมีความพร้อมและการให้ความรู้ดีมาก

-ควรลงและทำทีละหมวดแต่ละสเต็ปโดยเริ่มจากทำ OP ก่อน

-ทุกคนควรต้องฝึกทำ ๘ หน้า และนำเสนอในกลุ่ม

-สถานที่จัดอบรม ควรให้เหมาะสม ควรจัดหาห้องอบรมที่ไม่เย็นมากจนเกินไป

-ควรเพิ่มวันและเวลาในการจัดโครงการสัก ๓ วัน เพื่อจะได้ลงลึกในการขียนได้มากขึ้น

-อยากให้วิทยากรพาทำเขียนให้มากๆ และให้มีการวิพากย์ให้มากๆ

 

ข) ข้อเสนอแนะต่อการใช้ EdPEx ในส่วนงาน

-การสร้างความเข้าใจของบุคลากรและการสื่อสารเกี่ยวกับ EdPEx ในส่วนงาน ยังมีน้อยมากพอ

-ผู้บริหารระดับสูงควรให้ความสำคัญ และควรเข้ารับการอบรม EdPEx ในภาพรวมก่อน โดยทุกภาคส่วนต้องร่วมกันขับเคลื่อนอย่างเป็นเอกภาพ

-ตั้งไลน์กลุ่ม EdPEx เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อเนื่อง

-ทำให้ได้นำความรู้มาสร้าง OP ส่วนงานให้ถูกต้อง

-ควรจัดอบรมออนไลน์ เพิ่มวันและเวลาในการอบรม และผู้ที่เข้าอบรมออนไลน์จะต้องอยู่อบรมตลอดทั้งงาน

-สามารถนำไปถ่ายทอดและปรับใช้ในหน่วยงานได้

-นำความรู้​ที่ได้ไปปรับปรุงแก้ไข OP ของส่วนงานของตน

 -รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในไฟล์เดียวกันแล้วมอบแก่หน่วยงาน

-ควรมีงบประมาณสนับสนุน

-ควรสร้างองค์ความรู้ร่วมกันขององค์กรให้ทุกส่วนงานพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศร่วมกันจัดทำร่วมกัน ให้มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา