แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพระหว่างส่วนงาน

หลักการและเหตุผล

          การนำระบบและกลไกการประกันคุณภาพมาใช้ในการขับเคลื่อนกระบวนการปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ส่วนงานสามารถพัฒนางาน เพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามพันธกิจของส่วนงานและของมหาวิทยาลัย

ดังนั้น เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ส่วนงานเล็งเห็นความสำคัญของการปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และใช้กลไกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพ เพื่อก้าวสู่การปฏิบัติที่ดี จึงเห็นความสำคัญในการจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพระหว่างส่วนงาน เพื่อเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพสู่ผลสัมฤทธิ์อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์

          ๑ เพื่อกระตุ้นให้ส่วนงานเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

          ๒ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพและเกิดแนวปฏิบัติที่ดี

๓  เพื่อส่งเสริมเครือข่ายในการติดตามตรวจเยี่ยมการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างส่วนงาน         

กลุ่มเป้าหมาย

          ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัย ของส่วนงานจัดการศึกษาในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก จำนวน ๗ แห่ง ดังนี้

          ๑. ส่วนงานจัดการศึกษาในภาคกลาง ประกอบด้วย

                              (๑) วิทยาลัยสงฆ์อุทัยธานี

                              (๒) วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

          ๒. ส่วนงานจัดการศึกษาในภาคตะวันออก ประกอบด้วย

                              (๑) วิทยาลัยสงฆ์ชลบุรี

          ๓. ส่วนงานจัดการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย

                              (๑) วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์

                              (๒) วิทยาลัยสงฆ์เลย

                              (๓) วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด

          ๔. ส่วนงานจัดการศึกษาในภาคตะวันตก ประกอบด้วย

(๑) วิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรี

ระยะเวลาดำเนินงาน

          ๑. ครั้งที่ ๑ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ วิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรี

          ๒. ครั้งที่ ๒ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ วิทยาลัยสงฆ์อุทัยธานี

          ๓. ครั้งที่ ๓ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ วิทยาลัยสงฆ์ชลบุรี

          ๔. ครั้งที่ ๔ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์

          ๕. ครั้งที่ ๕ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ วิทยาลัยสงฆ์เลย

          ๖. ครั้งที่ ๖ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

          ๗. ครั้งที่ ๗ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด

กิจกรรมการดำเนินงาน

          ๑) บรรยายสร้างความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะ วิทยาเขต วิทยาลัย บรรยายเรื่อง “ตัวบ่งชี้และ เกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับวิทยาลัย ปีการศึกษา ๒๕๖๕” แก่ส่วนงานจัดการศึกษา จำนวน ๗ แห่ง คือ (๑) วิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรี (๒) วิทยาลัยสงฆ์อุทัยธานี (๓) วิทยาลัยสงฆ์ชลบุรี (๔) วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ (๕) วิทยาลัยสงฆ์เลย (๖) วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร (๗) วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด

๒) แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการเขียนรายงานการประเมินตนเอง ระดับหลักสูตร

          ๓) ปฏิบัติการจัดทําแผนกิจกรรมดําเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาตามตัวบ่งชี้ ระดับ วิทยาลัยสงฆ์

เป้าหมายการดําเนินงาน

          ๑. ด้านปริมาณ

                    ๑) ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของคณะ วิทยา เขต วิทยาลัย เข้าร่วมกิจกรรมแห่งละไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

                    ๒) คณะ วิทยาเขต วิทยาลัย ร่วมแลก เปลี่ยนเรียนรู้ ๗ ส่วนงาน

          ๒. ด้านคุณภาพ

                    แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดทํารายงานการ ประเมินตนเอง ๙ เรื่อง

          ๓. ด้านระยะเวลา

                    ๒ – ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

๑. ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

          ๑) ร้อยละผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของคณะ วิทยาเขต วิทยาลัยแต่ละแห่งที่เข้าร่วม กิจกรรม (ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐)

          ๒) จํานวนคณะ วิทยาเขต วิทยาลัย ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (๗ ส่วนงาน)

๒. ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

          จํานวนแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดทํารายงานการประเมินตนเอง (๙ เรื่อง)

ประเมินความสำเร็จของโครงการ

ประเมินวัตถุประสงค์

ที่วัตถุประสงค์ผลการประเมินบรรลุ
เพื่อกระตุ้นให้ส่วนงานเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง  
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพและเกิดแนวปฏิบัติที่ดี มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างส่วนงานบรรลุ
เพื่อส่งเสริมเครือข่ายในการติดตามตรวจเยี่ยมการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างส่วนงาน           

ประเมินเป้าหมาย

ที่เป้าหมายผลการประเมินบรรลุ
ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของคณะ วิทยา เขต วิทยาลัย เข้าร่วมกิจกรรมแห่งละไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรเข้าร่วมในกิจกรรมร้อยละ ๘๕บรรลุ
จํานวนคณะ วิทยาเขต วิทยาลัย ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (๗ ส่วนงาน)ดำเนินการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๗ ส่วนงานบรรลุ
๒ – ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ดำเนินการตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดบรรลุ

ประเมินตัวชี้วัดความสำเร็จ

ที่ตัวชี้วัดความสำเร็จผลการประเมินบรรลุ
ร้อยละผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของคณะ วิทยาเขต วิทยาลัยแต่ละแห่งที่เข้าร่วม กิจกรรม (ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐)ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรเข้าร่วมในกิจกรรมร้อยละ ๘๕บรรลุ
จํานวนคณะ วิทยาเขต วิทยาลัย ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (๗ ส่วนงาน)ดำเนินการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๗ ส่วนงานบรรลุ
จํานวนแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดทํารายงานการประเมินตนเอง (๙ เรื่อง)  


ผลประเมินความพึงพอใจ

          คณะทํางานได้ทําแบบประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบของ แบบสอบถาม ได้รับแบบสอบถามคืน ๑๐๒ ฉบับ จากผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยน ๑๒๐ รูป/คน คิดเป็นร้อยละ ๘๕ ผลการประเมินโดยเฉลี่ย อยู่ในระดับพึงพอใจมาก

ตอนที่ ๑  ข้อมูลทั่วไป

ตารางที่   ๑   จำนวนร้อยละของผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของ วิทยาลัยแต่ละแห่งที่เข้าร่วม

        โครงการฯ ด้านสถานะ

ข้อมูลทั่วไปจำนวน (n)ร้อยละ
          บรรพชิต๔๒๔๑.๒๐
          คฤหัสถ์ชาย๒๙๒๘.๔๐
          คฤหัสถ์หญิง๓๑๓๐.๔๐
รวม๑๐๒๑๐๐.๐๐

          จากตารางที่ ๑ พบว่า ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของ วิทยาลัยแต่ละแห่งที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพระหว่างส่วนงาน ระดับวิทยาลัย  ด้านสถานะ ส่วนใหญ่มีสถานะเป็นบรรพชิต คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๒๐ รองลงมาเป็นคฤหัสถ์หญิง คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๔๐ และเป็นคฤหัสถ์ชาย คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๔๐ ตามลำดับ

ตารางที่ ๒ จำนวนร้อยละของผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยแต่ละแห่งที่เข้าร่วม

        โครงการฯ ด้านตำแหน่ง

ข้อมูลทั่วไปจำนวน (n)ร้อยละ
          ผู้บริหาร๑๒๑๑.๘๐
          อาจารย์๕๙๕๗.๘๐
          บุคลากรสายปฏิบัติการ๓๑๓๐.๔๐
รวม๑๐๒๑๐๐.๐๐

จากตารางที่ ๒ พบว่า ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยแต่ละแห่งที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพระหว่างส่วนงาน ระดับวิทยาลัย ด้านตำแหน่ง ส่วนใหญ่มีตำแหน่งเป็นอาจารย์ คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๘๐ รองลงมามีตำแหน่งเป็นบุคลากรสายปฏิบัติการ คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๔๐ และมีตำแหน่งเป็นผู้บริหาร คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๘๐ ตามลำดับ

ตารางที่ ๓ จำนวนร้อยละของส่วนงานระดับ วิทยาลัย ที่เข้าร่วมโครงการฯ

ข้อมูลทั่วไปจำนวน (n)ร้อยละ
วิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรี๑๗๑๖.๗๐
วิทยาลัยสงฆ์อุทัยธานี๑๓๑๒.๗๐
วิทยาลัยสงฆ์ชลบุรี๑๖๑๕.๗๐
วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์๑๙๑๘.๖๐
วิทยาลัยสงฆ์เลย๑๒๑๑.๘๐
วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร๑๓๑๒.๗๐
วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด๑๒๑๑.๘๐
รวม๑๐๒๑๐๐.๐๐

จากตารางที่ ๓ พบว่า ส่วนงานที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพระหว่างส่วนงาน ระดับวิทยาลัย ส่วนใหญ่เป็นวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์  คิดเป็นร้อยละ ๑๘.๖๐ รองลงมาเป็นวิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรี คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๗๐  วิทยาลัยสงฆ์ชลบุรี คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๗๐ วิทยาลัยสงฆ์อุทัยธานีและวิทยาลัยสงฆ์พิจิตร  คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๗๐  วิทยาลัยสงฆ์เลย และวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด  คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๐๐  ตามลำดับ

ตอนที่ ๒  ความพึงใจต่อกิจกรรมของโครงการฯ

ตารางที่ ๔ แสดงคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความพึงพอใจ ของส่วนงานระดับ วิทยาลัย ที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยภาพรวม

ด้านความพึงพอใจต่อกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดับความพึงพอใจ
  Mean S. D. แปลผล
ด้านการเตรียมงาน ๔.๖๐ ๐.๔๗ มากที่สุด
ด้านผู้เข้าร่วม ๔.๔๕ ๐.๕๓ มาก
ด้านวิทยากร ๔.๖๑ ๐.๔๘ มากที่สุด
รวม ๔.๕๕ ๐.๕๐ มากที่สุด

จากตารางที่ ๔ พบว่า ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของ วิทยาลัยแต่ละแห่งที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพระหว่างส่วนงาน ระดับวิทยาลัย โดยภาพรวม มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อยู่ในระดับ “มากที่สุด”  มีความเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๕๕ เมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่า ด้านวิทยากร อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๖ รองลงมาคือด้านการเตรียมงาน อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๐ และด้านผู้เข้าร่วม อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๔๕  ตามลำดับ

ตารางที่ ๕ แสดงคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความพึงพอใจ ของส่วนงานระดับ วิทยาลัย ที่เข้าร่วมโครงการฯ ด้านการเตรียมงาน

ด้านการเตรียมงาน ระดับความพึงพอใจ
  mean S. D. แปลผล
๑. วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม ๔.๗๒ ๐.๕๐ มากที่สุด
๒. การอำนวยความสะดวก/การประชาสัมพันธ์ ๔.๖๐ ๐.๕๓ มากที่สุด
๓. ความเหมาะสมด้านเวลา ๔.๕๐ ๐.๖๗ มาก
๔. รูปแบบการฝึกอบรม ๔.๕๗ ๐.๕๙ มากที่สุด
รวม .๖๐ .๕๗ มากที่สุด

             จากตารางที่ ๕ พบว่า ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของ วิทยาลัยแต่ละแห่งที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพระหว่างส่วนงาน ระดับวิทยาลัย  ด้านการเตรียมงาน มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อยู่ในระดับ “มากที่สุด”  มีความเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๖๐ เมื่อพิจารณารายข้อ  พบว่า จากข้อคำถามในข้อความว่า  วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๗๒ จากข้อคำถามในข้อความว่า การอำนวยความสะดวก/การประชาสัมพันธ์ อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๐ จากข้อคำถามในข้อความว่า รูปแบบการฝึกอบรม อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๕๗  และจากข้อคำถามในข้อความว่า ความเหมาะสมด้านเวลา อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๕๐ ตามลำดับ

ตารางที่ ๖ แสดงคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความพึงพอใจ ของส่วนงานระดับ วิทยาลัย ที่เข้าร่วมโครงการฯ ด้านผู้เข้าร่วม

ด้านผู้เข้าร่วม ระดับความพึงพอใจ
  mean S. D. แปลผล
๑. องค์ความรู้ที่มีก่อนการฝึกอบรม ๔.๒๔ ๐.๘๓ มาก
๒. องค์ความรู้ที่ได้รับหลังการฝึกอบรม ๔.๕๓ ๐.๕๙ มากที่สุด
๓. ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม ๔.๕๒ ๐.๕๙ มากที่สุด
๔. การนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของท่าน ๔.๕๐ ๐.๕๙ มาก
รวม .๔๕ .๖๕ มาก

จากตารางที่ ๖ พบว่า ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของ วิทยาลัยแต่ละแห่งที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพระหว่างส่วนงาน ระดับวิทยาลัย  ด้านผู้เข้าร่วม มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อยู่ในระดับ “มาก”  มีความเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๔๕ เมื่อพิจารณารายข้อ  พบว่า จากข้อคำถามในข้อความว่า  องค์ความรู้ที่ได้รับหลังการฝึกอบรม อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๓ จากข้อคำถามในข้อความว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๒ จากข้อคำถามในข้อความว่า การนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของท่าน อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๕๐  และจากข้อคำถามในข้อความว่า องค์ความรู้ที่มีก่อนการฝึกอบรม อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๒๔ ตามลำดับ

ตารางที่ ๗ แสดงคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความพึงพอใจ ของส่วนงานระดับ วิทยาลัย ที่เข้าร่วมโครงการฯ ด้านวิทยากร

ด้านวิทยากร ระดับความพึงพอใจ
  mean S. D. แปลผล
๑. การเตรียมความพร้อมของวิทยากร ๔.๖๕ ๐.๕๖ มากที่สุด
๒. การถ่ายทอดความรู้ อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนตรง     ประเด็น ๔.๖๔ ๐.๖๑ มากที่สุด
๓. มีเทคนิคในการบรรยาย น่าสนใจ ๔.๖๐ ๐.๕๗ มากที่สุด
๔. เอกสารประกอบการบรรยายเหมาะสม ๔.๕๖ ๐.๖๑ มากที่สุด
รวม .๖๑ .๕๙ มากที่สุด

จากตารางที่ ๗ พบว่า ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของ วิทยาลัยแต่ละแห่งที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพระหว่างส่วนงาน ระดับวิทยาลัย  ด้านวิทยากร มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อยู่ในระดับ “มากที่สุด”  มีความเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๖๑ เมื่อพิจารณารายข้อ  พบว่า จากข้อคำถามในข้อความว่า  การเตรียมความพร้อมของวิทยากร อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๕ จากข้อคำถามในข้อความว่า การถ่ายทอดความรู้ อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนตรงประเด็น อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๔ จากข้อคำถามในข้อความว่า มีเทคนิคในการบรรยาย น่าสนใจ อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๖๐  และจากข้อคำถามในข้อความว่า เอกสารประกอบการบรรยายเหมาะสม อยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๕๖ ตามลำดับ

ตอนที่ ๔ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในครั้งต่อๆไป ดังนี้

– ควรมีเอกสารแจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมในขณะที่วิทยากรให้ความรู้เพื่อทำความเข้าใจ

– ควรให้ผู้บริหารสูงสุดในหน่วยงานได้เข้ามาฟังด้วย

– อยากให้มีการจัดกิจกรรมอบรมปีละ ๑ ครั้ง เป็นอย่างน้อย เพื่อส่วนงานจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมการประกันคุณภาพการศึกษา

– เป็นโครงการที่ได้รับรู้สิ่งที่ยังไม่เข้าใจ และช่วยลดภาระการถกเถียงคําถามกันเองของคน ในองค์กรได้เป็นอย่างดี และอย่างให้จัดเป็นประจำทุกปี

– ควรให้มีการจัดโครงการ ก่อนและหลังการตรวจประกัน เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมและปรับปรุงพัฒนาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา

– ควรมีการแจกคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา

-อยากให้พูดถึงการประกันคุณภาพในส่วนของระดับหลักสูตรด้วย

-อยากให้มีการติดตามผล เพื่อจะได้คำแนะนำที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดผลในเชิงรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

-ควรจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บ่อยๆ

-ระยะเวลาในการจัดการอบรมควรมากกว่านี้

-เป็นกิจกรรมที่ดีทำให้บุคลากรได้รับทราบเกี่ยวกับการเตรียมข้อมูลในการจัดทำประกันคุณภาพการศึกษาในปีต่อไป

ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานประกันคุณภาพการศึกษา

          การแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานประกันคุณภาพการศึกษา ดําเนินงานช่วงระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๒ – ๒๕ เมษายน ๒๕๖๒ โดยจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับส่วนงานจัดการศึกษา ๗ ส่วนงานคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ของส่วนงานจัดการศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย (๗ ส่วนงาน) มีผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ เข้าร่วม ทั้งสิ้น ๑๐๒ รูป/คนจากบุคลากรทั้งหมด ๑๒๐ รูป/คน คิดเป็นร้อยละ ๘๕ โดยมีกิจกรรมดําเนินงาน ดังนี้

          ๑.๑ ลักษณะกิจกรรม

          การบรรยายเรื่องตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน คุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรและระดับคณะ วิทยาเขต วิทยาลัย และฝึกปฏิบัติเขียนรายงานการประเมินตนเอง ระดับ หลักสูตร รวมทั้งการกรอกข้อมูลในระบบ MCU e-SAR

          ๑.๒ จํานวนผู้เข้าร่วม

ตัวชี้วัดความสําเร็จเชิงปริมาณของโครงการ คือ ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของ วิทยาลัยแต่ละแห่งที่เข้าร่วมกิจกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ผลจากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๗ แห่ง พบว่า ส่วนใหญ่มีตำแหน่งเป็นอาจารย์ คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๘๐       

๑.๓ สรุปผลการวิเคราะห์

          ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของ วิทยาลัยแต่ละแห่งที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพระหว่างส่วนงาน  ส่วนใหญ่มีสถานะเป็นบรรพชิต คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๒๐ รองลงมาเป็นคฤหัสถ์หญิง คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๔๐ และเป็นคฤหัสถ์ชาย คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๔๐ และส่วนใหญ่มีตำแหน่งเป็นอาจารย์ คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๘๐ รองลงมามีตำแหน่งเป็นบุคลากรสายปฏิบัติการ คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๔๐ และมีตำแหน่งเป็นผู้บริหาร คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๘๐  โดยภาพรวมผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยแต่ละแห่งที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพระหว่างส่วนงานมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อยู่ในระดับ “มากที่สุด”  มีความเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๕๕

ประมวลภาพกิจกรรม